เผยแพร่เมื่อ/created date: 8 Apr 2013

ขันทองพยาบาท

Suregada multiflorum (A.Juss.) Baill.
ป่าช้าหมอก ยางปลอก ขันทอง ดูกไทร ไฟ ดูกหิน ขุนทอง ยายปลวก ขอบนางนั่ง ทุเรียนป่า มะดูกเลื่อม มะดูก ดูกไทร เหมือดโรด ดูกหิน ทองพันชั่ง ขัณฑสกร ช้องรำพัน สลอดน้ำ ตะขบนก
EUPHORBIACEAE
ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-7 ม. กิ่งก้านอ่อน ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 3-8 ซม. ยาว 9-22 ซม. เนื้อใบหนาเป็นมัน ก้านใบยาว 2-5 มม. ดอก สีเขียวอมเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อสั้นๆตรงซอกใบ กลิ่นหอม ดอกแยกเพศ ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้ขนาด 2.5 มม. ก้านดอกยาว 5 มม. กลีบรองดอกมี 5 กลีบ เกสรผู้จำนวนมาก ดอกเพศเมียมีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้ รังไข่กลมมี 3 ช่อง ผล ค่อนข้างกลม ผิวเกลี้ยง ขนาด 2 ซม. ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกสีเหลือง แตกตามพู เมล็ดค่อนข้างกลม ขนาด 7-8 มม.
พบในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แถบประเทศ อินเดีย พม่า อินโดจีน คาบสมุทรมลายู ประเทศไทยพบทั่วไปในป่าผลัดใบ ในป่าเบญจพรรณหรือป่าดิบ ที่ระดับความสูงไม่เกิน 600 ม. ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ติดผลเดือนเมษายน-มิถุนายน
เนื้อไม้ มีพิษทำให้เมา ใช้เป็นยาเบื่อ เปลือกต้นพอก หรือตำคั้นน้ำทาใช้รักษาโรคผิวหนัง กลากและเกลื้อน ผดผื่นคัน ราก ต้มดื่มแก้ไข้

พืชสมุนไพร เล่ม 2 และ 3, ไม้ต้นในสวน Tree in the Garden

-

9023 views

แสดงความเห็นและอภิปราย/discuss

   

Your E-mail:

Your Name: